พื้นฐานการบังคับสัตว์ (การบังคับโค)

มาตรฐานสินค้าเกษตร
June 15, 2017

พื้นฐานการบังคับสัตว์ (การบังคับโค)

พื้นฐานการบังคับสัตว์ (การบังคับโค)

วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม

หลังจากการศึกษาบทปฏิบัติการนี้แล้วนักศึกษาสามารถ

1. ทราบถึงกลไกการเคลื่อนไหวของร่างกายสัตว์แต่ละชนิดเพื่อใช้เป็นพื้นฐานในการบังคับสัตว์

2. สามารถบังคับสัตว์เพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆได้อย่างถูกต้อง

หลักการและเหตุผล

ในการบังคับสัตว์ต้องอาศัยหลักและวิธีการต่างๆ แต่มีสิ่งหนึ่งที่ต้องเรียนรู้คือหลักจิตวิทยา (Psychology) ของโคเพราะโคแต่ละตัวมีนิสัยที่แสดงออกแตกต่างกันไป ฉะนั้นการบังคับโคควรระมัดระวังให้มากถ้าเป็นไปได้ควรบังคับอยู่ในซองบังคับ หรืออาจใช้วิธีการบังคับด้วยเชือกการจับสัตว์โดยวิธีต่างๆ มีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมการเคลื่อนไหวของสัตว์อย่างชั่วคราว ควรกระทาด้วยความระมัดระวังเพื่อไม่ให้สัตว์ได้รับความกระทบกระเทือนมากหรือได้รับความเจ็บปวด ขณะเดียวกันต้องคานึงถึงความปลอดภัยและความสะดวกของผู้ปฏิบัติงานให้มากที่สุด

พื้นฐานการบังคับสัตว์

การบังคับสัตว์ หมายถึง กรรมวิธีในการยับยั้งขัดขวางหรือบังคับการเคลื่อนไหวเพื่อให้สัตว์อยู่ในลักษณะที่ต้องการ

คำแนะนาในการบังคับสัตว์ทั่วไป

1. ต้องมีความเชื่อมั่นในตนเองว่าสามารถบังคับสัตว์หรือจับสัตว์นั้นได้โดยไม่กลัวหรือตื่นเต้น
2. ต้องจับให้แน่นและเมื่อสัตว์ดิ้นรน ต้องอดทนไม่ส่งเสียงร้องหรือทาทารุณต่อสัตว์
3. ต้องสังเกตลักษณะอารมณ์ของสัตว์นั้น ในขั้นต้นอย่างน้อยควรสอบถามลักษณะนิสัยของสัตว์จากเจ้าของสัตว์
4. ใช้วิธีการบังคับสัตว์ที่เหมาะสมกับสัตว์ชนิดนั้นๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการประเมินควบคู่ไปกับเหตุการณ์ ชนิด ขนาด และวัตถุประสงค์ของการบังคับสัตว์
5. มีผู้ช่วยในการจับหรือบังคับสัตว์เพียงพอ
6. ควรจับสัตว์ในสภาพแวดล้อมและสถานที่ที่เหมาะสมในการจับสัตว์ชนิดนั้นๆเป็นต้น

วิธีการบังคับสัตว์

การใช้แรงบังคับ เป็นวิธีการบังคับสัตว์แบบที่ง่ายและใช้มากที่สุด ได้แก่ การผูกล่าม ลาก จูงหรือการใช้ซองหนีบ

การปฏิบัติให้สอดคล้องกับพฤติกรรมสัตว์

เป็นวิธีการที่ดีมากในการควบคุมพฤติกรรมสัตว์โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้องการบังคับสัตว์ที่ไม่มีพันธนาการ สัตว์เหล่านี้สามารถควบคุมได้ง่ายขึ้น หากถูกต้อนให้อยู่รวมกันในที่อันจากัด วิธีนี้เหมาะกับการบังคับ สุกร แพะ แกะ โค กระบือ เป็นต้น

การใช้จุดอ่อนทางร่างกายสัตว์ใช้ให้เป็นประโยชน์ในการบังคับสัตว์

การทราบถึงกลไกการเคลื่อนไหวของร่างกายสัตว์แต่ละชนิดเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการควบคุมพฤติกรรมสัตว์ เช่นการดึงหัวให้หงายขึ้นจะสามารถหยุดการเคลื่อนที่ไปข้างหน้าได้ การใช้บ่วงรัดริมฝีปากบนของสุกรนับว่าเป็นการควบคุมสุกรที่ดี แต่จะทาให้สุกรส่งเสียงร้องดังติดต่อกันเกือบตลอดเวลา

การควบคุมการเตะของสัตว์นับว่ามีความจาเป็นมากเพราะการเตะอาจทาให้เกิดอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงานได้ การควบคุมการเตะของสัตว์อาจทาได้หลายวิธี เช่นการผูกข้อเท้า การใช้บ่วงรัดท้อง หรือการยกโคนหางขึ้น ในการจัดการสัตว์ที่มีขนาดเล็ก เช่น แพ แกะ ลูกโค สามารถใช้การจับยกให้พ้นพื้นเพื่อป้องกันไม่ให้สัตว์ขัดขืนการปฏิบัติงานได้

การฝึกหัด พฤติกรรมของสัตว์เลี้ยงสามารถถูกควบคุมได้โดยสะดวกหากสัตว์ได้รับการฝึกหัดมาก่อน สามารถเรียนรู้และจดจาการปฏิบัติงานต่างๆ ในฟาร์มได้อย่างรวดเร็ว เช่น เวลาการให้อาหาร เสียงคนเลี้ยง เสียงนกหวีด หรือเสียงรถเข็นอาหารเป็นต้น การนาสัตว์ที่ได้รับการฝึกหัดแล้วไปรวมกับสัตว์ที่ยังไม่ได้รับการฝึกหัดนั้นจะทาให้สัตว์มีการเรียนรู้ได้เร็วขึ้น

การใช้ยา บางครั้งมีความจาเป็นต้องใช้ยาบางชนิดเพื่อควบคุมพฤติกรรมของสัตว์เช่น ยากล่อมประสาทเพื่อให้สัตว์สงบ หรือการใช้ยาสลบเพื่อหยุดการเคลื่อนไหวของสัตว์ การใช้ยากล่อมประสาท มีประโยชน์มากในการลดการต่อสู้ของสัตว์เมื่อถูกนามารวมกันใหม่ๆ หรือลดความเครียดเมื่อถูกกักขังในที่ที่ไม่คุ้นเคยหรือในระหว่างการขนส่ง

การเข้าหาโค

การเข้าหาโคควรให้ส่งเสียงเพื่อให้โครู้ตัวก่อน ไม่ควรถือสิ่งของหรือไม่เข้าไป เพราะจะทาให้โคระแวงว่าจะถูกทาร้าย ซึ่งอาจทาอันตรายหรือไม่ไว้ใจ โดยเฉพาะโคที่มีเขาต้องระวังให้มากควรพิจารณาลักษณะอาการโคที่แสดงออกร่วมด้วยก่อนทาการเข้าหาโค

วิธีการบังคับโค

1. การเบี่ยงเบนความสนใจ คือการทาให้โครู้สึกเจ็บปวดขึ้นชั่วขณะ ในขณะที่เราปฏิบัติต่อตัวโคเพื่อเป็นการเบี่ยงเบนความสนใจของโคจากผู้ที่จะเข้าไปปฏิบัติงาน เช่น การฉีดยา การเจาะเลือด การล้างแผล ตลอดจนการทาศัลยกรรมบางอย่าง เป็นต้นซึ่งมีวิธีการต่างๆดังนี้

1.1 การจับหางโค วิธีการนี้จะทาให้โคเบี่ยงเบนความสนใจจากส่วนอื่นๆ ของร่างกายที่เราจะเข้าไปปฏิบัติ เช่น การฉีดยา โดยให้ผู้ช่วยใช้มือจับที่โคนหางโดยยืนอยู่ทางด้านใดด้านหนึ่งของโคเพื่อป้องกันการเตะ

ภาพที่ 1 การจับหางโคเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจ
ที่มา http://www.syriavet.com/vet/showthread.php?t=10121&page=4

1.2 คีมหนีบจมูก (nose lead) จุดประสงค์เพื่อสร้างความเจ็บปวดขึ้นที่ผิวหนังจมูก ซึ่งเป็นบริเวณที่มีเส้นประสาทมาก ทาให้โคเจ็บและยอมจานน ในกรณีที่เราจะทาการฉีดยาเข้าเส้นเลือด การเจาะเลือด การตรวจร่างกาย การตรวจกีบ หรือการทาศัลยกรรมเต้านมบางอย่าง

ภาพที่ 2 Nose lead และลักษณะการใช้งาน
http://www.syriavet.com/vet/showthread.php?t=10121&page=4

1.3 Iowa cattle leader อาจเรียกว่า cattle bulldog เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ได้สะดวกกว่า nose lead แต่ต่างกันคือมีด้ามซึ่งสามารถให้ผู้ช่วยจับไว้ได้

ภาพที่ 3 Iowa cattle leader
http://www.syriavet.com/vet/showthread.php?t=10121&page=4

1.4 การใช้เชือกรัดที่โคนใบหู (ear twitch) เป็นการเบี่ยงเบนความสนใจจากร่างกายส่วนอื่นของโคได้แบบหนึ่งโดยการทาให้เกิดความเจ็บปวดที่บริเวณหูสัตว์เพราะหูเป็นบริเวณที่ไวต่อความเจ็บปวดมีเส้นประสาทมาเลี้ยงมาก แต่ต้องระมัดระวังเป็นอย่างมากเนื่องจากอาจทาให้กระดูกอ่อนของหูอาจเกิดอันตรายได้ วิธีนี้ใช้กับโคที่มีเขาเท่านั้น

2. การบังคับส่วนหัวของโค

2.1 การบังคับส่วนหัวโคด้วยมือ ทาโดยการใช้มือข้างหนึ่งจับที่ผนังกั้นจมูกด้วยนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วที่เหลือ ส่วนอีกมือหนึ่งจับเขาหรือใบหู ทาการบังคับโดยการกดนิ้วมือที่จับไว้บนผนังกั้นจมูก วิธีนี้ใช้กับลูกโคที่มีขนาดไม่ใหญ่ มากนักเนื่องจากวิธีนี้ไม่ได้ผลดีเท่ากับคีมหนีบจมูก

ภาพที่ 4 การบังคับโคด้วยมือ
ที่มา : http://cal.vet.upenn.edu/projects/fieldservice/Dairy/COWRESTR/headrpic.gif

2.2 การสนสะพายหรือการผูกเชือกรอบคอ สนสะพายหมายถึง การใช้เชือกร้อยผ่านระหว่างรูจมูกของกระบือ อ้อมผ่านใต้ใบหูกระบือ และผูกบริเวณด้านหลังท้ายทอยด้วยเงื่อนตายในความตรึงหรือหย่อนของเชือกที่เหมาะสม ส่วนเชือกผูกรอบคอนั้นจะเป็นอุปกรณ์ในการบังคับไม่ให้เชือกสนสะพายหลุดไปด้านหน้าของใบหู ซึ่งจะทาให้เชือกสนสะพายนั้นหย่อน ทาให้การบังคับกระบือยาก และอาจเป็นอันตรายกับกระบือได้ หากกระบือเหยียบเข้าไปในเชือกสนสะพายในขณะแทะเล็ม หรือผูกล่าม ขั้นตอนการทาสนสะพายมีดังนี้

  • ใช้เหล็กปลายเหลม แทงผนังกั้นจมูกตรงจุดที่บางที่สุดให้ทะลุ
  • จากนั้นเอาเชือกที่เตรียมไว้ร้อยผ่านรูที่เจาะไว้

ภาพที่ 5 แสดงขั้นตอนการการสนสะพายหรือการผูกเชือกรอบคอ
ที่มา : http://www.syriavet.com/vet/showthread.php

2.3 ห่วงจมูก (bull nose ring) มีจุดประสงค์เช่นเดียวกับการสนสะพายแต่ใช้ห่วงที่ทาด้วยวัสดุที่ไม่เป็นสนิมรูปครึ่งวงกลมมาต่อกันเพื่อนาห่วงเหล็กนี้ไปคล้องที่ ผนังกั้นจมูกแทนเชือกในการทาสนสะพาย

ภาพที่6 ห่วงจมูก (bull nose ring)
ที่มา : http://www.syriavet.com/vet/showthread.php

2.4 การทาเชือกจูง (halter) นอกจากจะใช้บังคับส่วนหัวของโคได้แล้วยังสามารถใช้จูงโคได้อีกด้วย มีวิธีการดังนี้

ภาพที่ 6 การทาเชือกจูง (halter)
ที่มา: http://cal.vet.upenn.edu/projects/fieldservice/Dairy/COWRESTR/haltpic.jpg

2.4.1 Bull head tie ในการจูงหรือบังคับพ่อโคที่ดุโดยการใช้คนสองคนในการจูงแต่ละข้างของเชือกที่ผูกติดกับห่วงจมูก หรือผูกติดกับแต่ละข้างของสนสะพายก็ได้

2.4.2 Wyoming slip halter การทา halter แบบนี้คือ ใช้ห่วงเหล็กเล็กๆผูกกับปลายเชือกด้านหนึ่งส่วนปลายเชือกอีกด้านทาเป็นห่วงเล็กๆผูก หลังจากที่ผูกห่วงเหล็กที่ปลายเชือกแล้ว ระยะจากห่วงเหล็กมาประมาณ 3-4 ฟุต ทบเชือกและสอดเชือกส่วนที่ทบนี้เข้าในห่วงเหล็ก จะเห็นว่าเป็นห่วงเชือกสองห่วงขึ้น ในห่วงเชือกอันแรกคล้องหัวโคโดยให้ผ่านหลังกกหู ให้ห่วงเหล็กอยู่มุมปากด้านใดด้านหนึ่ง นาห่วงเล็กที่เหลือคล้องรอบปากทั้งขากรรไกรล่างและบน ให้อยู่บริเวณสันจมูกหรือผ่านมุมปาก เมื่อทาการดึงเชือกให้ตึงจะกดรัดบริเวณจมูกโคสร้างความเจ็บปวด จนทาให้ยอมจานนให้ผู้ที่จะเข้าไปปฏิบัติงานได้ตามต้องการ

2.4.3 การทาเชือกจูงชั่วคราว (temporary rope halter) มีวิธีการคือ

  • นาปลายเชือกข้างหนึ่งมาทาเป็นห่วงคล้องคอที่โคด้วยเงื่อน bowline
  • ทบเชือกส่วนที่เหลือสอดเข้าไปในห่วงที่คล้องคอโคนั้นจะทาให้เกิดห่วงอีกอันหนึ่งและนาห่วงนี้ไปคล้องที่จมูกโค
  • ดึงปลายเชือกให้ตึง เชือกที่คล้องจมูกโคก็จะรัดทาให้โคเจ็บก็สามารถจูงโคได้อย่างไม่ขัดขืน

2.4.4 การเข้าคางเรือ (การเข้าคางเรือเป็นภาษาชาวบ้าน )

2.4.5 การทาหลักหนีบคอ หลักหนีบคอทาได้โดยเลือกต้นไม้ที่ตรงและแข็งแรงพอควรใช้เป็นเสาหลัก ขุดหลุมห่างจากต้นไม้ประมาณ 15-20 เซนติเมตร นาเสาอีก 1 ท่อนฝังในหลุมที่ขุดไว้ จากนั้นใช้เชือกพันอ้อมต้นไม้ เมื่อหัวโคผ่านช่องก็ดึงหางเชือก โคจะถูกหนีบคอไม้ให้เดินหน้าหรือถอยหลังได้

3. การบังคับให้โคลุกขึ้น
การบังคับให้โคที่นอนอยู่ลูกขึ้นนั้นทาได้หลายวิธี ตั้งแต่การส่งเสียงไล่ ใช้เท้าเตะ ใช้ไม้ตี หรือบีบหาง เป็นต้น แต่ในบางครั้งโคอาจไม่ยอมลุกขึ้น ก็จาเป็นต้องใช้เครื่องจี้ไฟฟ้า (ถ่านไฟฉาย)

http://www.syriavet.com/vet/showthread.php
http://www.be2hand.com/images
ภาพที่ 7 เครื่องจี้ไฟฟ้า (ถ่านไฟฉาย)

การป้องกันการเตะของโค

อันตรายของโคนั้นมีจากการเตะของขาหลังโคซึ่งเป็นอันตรายมากแก่ผู้ปฏิบัติงาน เช่นการเข้าไปรีดนม ตรวจรักษาเต้านม การผสมเทียมและการทาศัลกรรมบางอย่าง การป้องกันการเตะของโคจึงมีความสาคัญมาก ซึ่งมีหลากหลายวิธีการเช่น

3.1 Milking hobble (anti-kicker) นิยมใช้ในโคนมมากเพราะสามารถใส่ได้สะดวกและรวดเร็วทาจากแผ่นเหล็กดัดสองชิ้นซึ่งจะสวมเข้าพอดีกับขาหลังเหนือ hock joint ของโค

ภาพที่ 8 Milking hobble
ที่มา http://www.eatclosetohome.wordpress.com

3.2 การใช้เชือกรัดขาทั้งสองข้าง (rope hobble) ใช้เชือกรัดขาบริเวณเหนือ hock joint ทั้งสองข้างและอาจผูกติดไว้กับซองรีดนม หรืออาจผูกกับขาด้านเดียว (ควรเป็นด้านที่จะเข้าไปปฏิบัติกับโค) แล้วไปผูกติดกับเหล็กซองรีดที่ใกล้กับขาอีกข้างหนึ่งที่ไม่ได้ผูก

ภาพที่ 9 การใช้เชือกรัดขาทั้งสองข้าง (rope hobble)
ที่มา : http://www.eatclosetohome.wordpress.com, http://www.greenstone.org

Hock twitch วิธีนี้เป็นวิธีที่ทาได้ง่าย และได้ผลในการยกขา และการเตะของโคและสามารถทาขึ้นเองได้โดยใช้เชือกยาวประมาณ 18-20 นิ้ว ซึ่งที่ปลายทั้งสองข้างได้ทาเป็นหวงเล็กๆไว้แล้ว นาไปพันรอบโคนขาเหนือ hock joint จากนั้นใช้ท่อนไม้สั้นๆสอดเข้าไปในห่วงทั้งสองข้างแล้วทาการบิดให้แน่น เชือกจะรัดที่ต้นขาและเอ็นร้อยหวาย (Achillies tedon) ทาให้โคไม่สามรถยกขาเตะได้

3.3 Squeeze restraint for kicking โดยการใช้เชือกที่ปลายข้างหนึ่งทาเป็นห่วงเล็กๆไว้แล้ว จากนั้นเอาปลายเชือกอีกด้านหนึ่งสอดเข้าไปในห่วงเล็กๆเพื่อทาให้เกิดห่วงใหญ่คล้องรอบลาตัวบริเวณท้อง หน้าเต้านมในตัวเมีย และหน้าอวัยวะเพศในตัวผู้ เมื่อดึงเชือกให้ตึงเชือกจะรัดที่ลาตัวโค ทาให้โคอึดอัดไม่สามารถเตะได้ การดึงต้องใช้แรงดึงให้พอดีที่โคสามารถยืนอยู่ได้ เพราะถ้าดึงตึงมากไปโคจะล้มลงนอน

3.4 การใช้เครื่องมือกดทับบริเวณสวาป (C-shaped camp) เป็นเครื่องมือที่ทาจากโลหะชุบใช้ใส่ไว้บนหลังเพื่อให้ปลายทั้งสองกดบริเวณสวาปทั้งสองข้าง จะทาให้โคไม่สามารถยกขาเพื่อจะเตะได้และไม่สามารถเดินได้สะดวก
ภาพที่ 10 เครื่องมือกดทับบริเวณสวาป (C-shaped camp)
ที่มา: http://www.pornchaiinter.com/Image_s/noise-ring-KERBL2-5.jpg

4. วิธีการยกขาโค (methods of raising a leg)
ในการบังคับโค บางครั้งอาจมีวามจาเป็นต้องยกขาโคเพื่อการตรวจรักษาหรือตัดแต่งกีบ เช่น ในรายที่เป็นโรคกีบเน่า ร่องกีบอักเสบอันมีสาเหตุมาจากโรคบางอย่าง เป็นต้น วิธีการยกขาโคนั้นมีหลากหลายวิธีด้วยกัน ถ้าผู้ปฏิบัติงานมีความแข็งแรงพอวิธีที่ง่ายที่สุดคือ การยกขาด้วยมือ ควรนาโคเข้าซองบังคับสัตว์ให้เรียบร้อยก่อน ส่วนการบังคับด้วยเชือกในการยกขาโคมีวิธีต่างๆดังนี้

4.1 front leg hobble วิธีนี้สามารถยกขาหน้าโคให้พ้นจากพื้นและสามารถทาการตรวจหรือรักษาได้ การบังคับแบบนี้โคจะสามารถยืนได้แบบไม่ล้ม และยังเป็นการป้องกันการเตะของขาหลังของโคได้อีกด้วย วิธีการยกคือใช้เชือกที่ปลายข้างหนึ่งทาเป็นห่วงเล็กๆไว้แล้ว จากนั้นทาห่วงขึ้นอีกห่วงหนึ่งรัดขอบขาโคบริเวณ pastern joint ปลายที่เหลือของเชือกพาดไปบนตะโหนก (whiter) ให้ปลายเชือกผ่านไปยังอีกด้านหนึ่งของตัวโค จากนั้นให้ผู้ช่วยดึงขา โคยกขึ้นแต่ต้องคอยระวังขณะดึงขาโคถ้าโคล้มจะต้องรีบปล่อยเชือกทันที

ภาพที่ 11 การยกขาหน้าของโคด้วยวิธี front leg hobble
ที่มา : http://cal.vet.upenn.edu/projects/fieldservice/Dairy/COWRESTR/frhopple.jpg

4.2 การยกขาด้วยมือ วิธีนี้เป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการยกขาโค เพื่อการตัดแต่งกีบโดยการยกขาโคมาพาดที่เข่าของผู้ยกเป็นวิธีหนึ่งที่ ไม่ทาให้เกิดการบาดเจ็บที่ขาโค เพราะไม่มีเชือกรัดที่ข้อเท้าของโค แต่การยกด้วยมือนั้นมีอันตรายมาก ถ้าผู้ปฏิบัติงานไม่มีความชานาญ และปฏิบัติผิดขั้นตอนโดยเฉพาะถ้าเป็นโคที่ไม่เชื่องก็อาจก่อให้เกิดอันตรายได้ โดยมีขั้นตอนดังนี้

  • ก่อนทาการยกควรใช้ nose lead หนีบที่จมูกเพื่อยกหัวโคให้สูงขึ้นและหันไปทางตรงข้ามกับขาที่จะยกจากนั้นผู้ที่จะยกใช้มือสัมผัสตัวโคก่อนแล้วค่อยๆ เลื่อนลงมาจับขาโคที่ตาแหน่ง pasterns joint
  • ไหล่ซ้ายของผู้ปฏิบัติงานให้ดันอยู่ที่สวาปโค เพื่อดันตัวโคให้ทิ้งน้าหนักตัวลงไปที่ขา ด้านตรงข้าม และในเวลาเดียวกันก็ให้ยกขาโคขึ้นดังรูป
  • ให้ผู้ยกปรับขาโคให้อยู่บนขาผู้ยก ซึ่งจะรับน้าหนักของขาโคไว้ และมือซ้ายให้จับขาโคไว้ให้แน่น จากนั้นก็ใช้มือขวาที่ว่างอยู่ในการปฏิบัติงานต่างๆเกี่ยวกับขาโคตามต้องการ
  • การยกทั้งขาหน้าและขาหลังใช้หลักการเดียวกันในการปฏิบัติงาน

ภาพที่ 12 แสดงการยกขาโคด้วยมือ
ที่มา : http://cal.vet.upenn.edu/projects/fieldservice/Dairy/COWRESTR/rearman3.gif
การบังคับโคเพื่อการตัดเขา (dehorning restraint)
การเลี้ยงโคบางครั้งก็มีความจาเป็นต้องทาการตัดโคออก เนื่องจากโคบางพันธุ์มีเขายาวและคม อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงานหรือผู้ที่เกี่ยวข้องได้ง่าย หรืออาจเป็นอันตรายต่อโคตัวอื่นในฝูงเดียวกัน จึงจาเป็นต้องตัดเขาออก

4.3 การใช้เชือกบังคับชั่วคราวร่วมกับรั้ว วิธีการบังคับวิธีนี้เป็นวิธีที่ทาได้ง่ายและได้ผลดีโดยอาศัยรั้วหรือผนังคอก แต่ต้องบังคับส่วนหัวหรือรัดเชือกตรงส่วนคอโคไว้ให้แน่น เพื่อป้องกันโคดิ้นขณะปฏิบัติงาน นอกจากนี้การบังคับโคด้วยวิธีนี้ยังสามารถใช้บังคับเพื่อการรักษาและปฏิบัติงานต่างๆ เช่นการเจาะเลือด การฉีดยา การตรวจบริเวณหัว การตรวจบริเวณตาและหน้าของโค เป็นต้น

4.4 การบังคับโคโดยใช้ซองหนีบคอ เป็นการบังคับโดยให้โคเข้าไปอยู่ในซอง และมีส่วนที่สามารถทาการหนีบคอของโคซึ่งเป็นลักษณะแบบเปิดปิดได้ และปรับขนาดได้ตามขนาดของโคเพื่อไม่ให้โคเคลื่อนที่ไปข้างหน้าหรือถอยหลังได้ จะเป็นแบบซองเดี่ยวยาวที่เข้าได้ที่ละหลายตัวต่อท้ายกันและจะมีบริเวณที่หนีบคอตรงกลางซอง

5. การล้มโค
การล้มโค หมายถึง การทาให้โคอยู่ในท่านอน จุดประสงค์ของการล้มก็เพื่อความสะดวกในการปฏิบัติงาน เช่น เพื่อการตรีตราหรือทาเครื่องหมาย เป็นต้น การล้มโคนั้นจะต้องมีการเตรียมสถานที่ หรือเตรียมสถานที่ในการล้มไว้ก่อนเสมอ เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจมีต่อโคขณะทาการล้มหรือป้องเกิดการถลอกและมีบาดแผลที่ผิวหนัง ตลอดจนการหักของกระดูกโคร่งร่างซึ่งอาจทาให้โคพิการหรือตายได้ ซึ่งมีสิ่งที่ต้องคานึงในการล้มสัตว์ดังนี้

  • สัตว์จะต้องไม่ได้รับอันตรายหรือทรมานมากเกินไป
  • ความสะอาดของสถานที่และอุปกรณ์
  • บริเวณที่จะล้มกว้างขวางพอ
  • มีผู้ช่วยเหลือหรือทีมงานที่เพียงพอ
  • มีวัตถุประสงค์ในการล้ม
  • คำนึงถึงความปลอดภัยของตนเองและผู้ร่วมงาน

ภาพที่ 13 แสดงการล้มโคเพื่อการตัดเขาลูกโค
ที่มา : http://www.rakbankerd.com/agriculture/open.php?id=615&s=tblanimal

การล้มและการมัดลูกโคเพื่อตอน
วิธีนี้ใช้บังคับลูกโคเล็กที่มีอายุไม่เกิน 1 เดือน หรือน้าหนักไม่เกิน 50 กิโลกรัมในกรณีที่ไม่ต้องการเก็บเป็นพ่อพันธุ์ต่อไป เป็นวิธีที่สามารถทาคนเดียวได้ โดยผู้ล้มยืนชิดกับลูกโคทางด้านข้างจากนั้นก้มตัวให้ค่อมหลังลูกโค ใช้มือทั้งสองข้างจับขาลูกโคดึงขึ้นมาแบบกึ่งยก ให้ลูกโคค่อยๆล้มลงนอนโดยให้เข่าของผู้ล้มพยุงน้าหนักของลูกโคเอาไว้ อย่างนุ่มนวล เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกโคล้มกระแทกพื้นอย่างแรงทาให้เกิดการบาดเจ็บได้ ขณะที่ลูกโคล้มลงนอนแล้วให้ใช้หัวเข่าของผู้ล้มทั้งสองข้างกดทับลูกโคที่บริเวณแผงคอและบริเวณสะโพก จากนั้นใช้เชือกผูกโดยให้ส่วนกลางของเชือกพันขาคู่หลังบริเวณต่ากว่า hock joint จากนั้นดึงปลายเชือกทั้งสองกลับขึ้นมาระหว่างขาหลังและดึงต่อให้ลอดไปอยู่ระหว่างขาหน้าไปคล้องและผูกไว้กับตอ ให้พยายามปรับความตึงของเชือกให้ขาคู่หลังเหยียดมาข้างหน้าให้มากที่สุด จะทาให้เห็นส่วนของลูกอัณฑะได้มาก นอกจากนั้นการบังคับวิธีนี้ยังใช้เพื่อการตรีตราที่ตัวลูกหรือการทาแผลที่สะดือก็ได้

ภาพที่ 14 การล้มลูกโคที่อายุไม่เกิน 1 เดือน

5.1 การล้มโคเล็ก
วิธีนี้ใช้กับโคที่มีน้าหนักไม่ควรเกิน 120 กิโลกรัม วิธีการล้มทาได้โดยให้ผู้บังคับยืนอยู่ทางด้านข้างหันหน้าไปทิศทางเดียวกับโค มือซ้ายจับหูซ้ายของโค สอดนิ้วหัวแม่มือขวาเข้าทางปากบริเวณที่ไม่มีฟัน (interdentally space) นิ้วที่เหลือของมือขวาจับใต้คาง ลาตัวของผู้ที่บังคับแนบติดกับบริเวณไหล่ของโค และแขนด้านซ้ายหนีบคอโคพร้อมกับทิ้งน้าหนักลงบนส่วนคอของโค จากนั้นทาการล้มโดยการบิดคอโคให้พับไปทางด้านข้าง โดยให้ผู้บังคับเบี่ยงขาขวามาอยู่ด้านหน้าของโค พร้อมกับยกมือขวาขึ้นกดมือซ้ายลง จะทาให้โคทรงตัวไม่ได้และล้มลงนอนทางสวาปขวา

ภาพที่ 15 แสดงการล้มลูกโค
ที่มา: http://www.dld.go.th/lslo_loe/image/cow%20number/num_2.gif

5.2 การล้มโคใหญ่ เป็นการบังคับให้โคอยู่นิ่งโดยสมบูรณ์ โดยโคจะไม่สามารถดิ้นได้เลย จุดประสงค์ของการล้มโคเพื่อ การตัดแต่งกีบ การตรีตราหรือทาเครื่องหมาย มีวิธีการทานิยมทากันสองวิธีดังนี้

5.2.1 การล้มโคใหญ่ด้วยวิธีการ Rope squeeze (Reuff’s method) วิธีนี้เป็นวิธีที่นิยมมากในการล้มโค ถ้าดึงส่วนปลายให้ดึงหลังจากทาการบังคับแล้วเชือกที่จะรัดที่อกและท้องโคทาให้โคอึดอัดค่อยๆล้มลงนอนได้มี 3 วิธีดังนี้คือ

  • วิธีที่ 1 ใช้เชือกทาเป็นห่วงด้วยเงื่อน bowline คล้องคอโคไว้ จากนั้นทาการผ่านปลายเชือกผ่านส่วนหลังไปยังอีกด้านหนึ่งของลาตัวโคแล้วพันรอบส่วนอกเพื่อไปทา half hitch บริเวณหัวไหล่ ผ่านปลายเชือกส่วนที่เหลือไปทา half hitch อีกครั้งที่บริเวณท้องหน้าเต้านมในตัวเมียหรืออวัยวะเพศในโคตัวผู้ (ระวังไม่ให้รัดบริเวณเต้านมหรืออวัยวะเพศ) ส่วนปลายเชือกที่เหลือให้ผ่านไปทางท้ายโค เพื่อเตรียมดึงไปทางท้ายโคเมื่อทาการดึงต้องดึงไปทิศทางตรงข้ามกับโคเดินหน้า เมื่อดึงเชือกตึง โคจะล้มลงนอน ขณะเดียวกันต้องมีคนควบคุมส่วนหัวของโคไว้ด้วย
  • วิธีที่ 2 วิธีนี้ดัดแปลงมาจากวิธีแรก ซึ่งวิธีการจะคล้ายกันเพียงแต่เชือกที่ทาเป็นห่วงคล้องโคนั้นให้ลอดผ่านระหว่างขาคู่หน้าแทนเป็นการป้องกันเชือกบีบรัดหลอดลมเวลาดึงเชือกให้ตึง วิธีการคือให้เส้นเชือกขอห่วงนี้ผ่านบนตะโหนก ผ่านไหล่ ผ่านข้อศอก ผ่านกระดูกหน้าอก ข้ามบนกระดูกหัวไหล่ และผ่านตะโหนกโดยให้เงื่อนอยู่ทางด้านข้างของลาตัว ส่วนการทา half hitch อีกสองครั้งเหมือนเดิม
  • วิธีที่ 3 นี้ใช้ได้ผลดีเช่นเดียวกับสองวิธีแรก แต่อาจจะทาได้สะดวกรวดเร็วกว่าเนื่องจากใช้ห่วงเชือกคล้องที่เขาแทนการคล้องที่คอ ทั้งนี้ยังเป็นการป้องกันเชือกรัดหลอดลมขณะดึงโคให้ล้มลงอีกด้วย

ภาพที่ 16 การล้มโคที่มีขนาดใหญ่ด้วยเชือก

5.2.2 การล้มด้วยวิธี burley วิธีการทาคือ ขณะที่หัวโคถูกบังคับอยู่ด้วย nose lead หรือวิธีการอื่นๆ ที่ใช้ในการบังคับหัวของโค ให้นาเชือกส่วนกลางมาพาดบนตะโหนก(wither) ของโค ผ่านปลายเชือกทั้งสองข้างไประหว่างขาหน้าและไขว้กันบนหลังของโคให้ปลายเชือกหลังจากไขว้กันบนกลางหลัง แล้วแต่ละเส้นผ่านลงมายังซอกขาหนีบของหลังแต่ละข้างให้อยู่ระหว่างหลังด้านในกับเต้านม หรือขาหลังด้านในกับอัณฑะ

5.3 การมัดขาโคเล็กและโคใหญ่ หลังจากโคล้มลงนอนแล้ว ต้องมัดขาทั้งสี่ขาให้ติดกันอย่างหนาแน่น เพื่อไม่ให้โคดิ้นหรือเคลื่อนไหวในขณะที่เราปฏิบัติงานต่างๆ มีวิธีการมัดดังนี้

  • ทันทีที่โคล้มลงผู้ปฏิบัติงานคนหนึ่งต้องเข้าไปจับหัวโคและกดลงให้ติดกับพื้น เวลาเดียวกันนั้นอีกคนหนึ่งก็ใช้เข่ากดลงบริเวณสวาปของโคและถ้าเป็นไปได้คนที่สองนี้เอาหางลอดระหว่างขา และดึงหางให้ตึง จะทาให้โคไม่มีกาลังดิ้น
  • เมื่อโคหยุดดิ้นแล้วให้ผู้ปฏิบัติงานอีกสองคนเข้ามามัดขาโค โดยคนหนึ่งเข้ามามัดขาทางด้านหน้าในท่าตะแคงข้าง แล้วใช้ขาดันเบียดขาหน้าทั้งสองของโคให้เอนไปทางด้านท้ายพร้อมกันนั้นเอาห่วงเชือกสวมเข้าขาใดขาหนึ่งใต้ fetlock joint พันเชือกรอบขาทั้งสองขามัดรวมกัน 2-3 รอบแล้วเอาหางเชือกลอดระหว่างขาหน้าที่มัดแล้วนั้น ในขณะเดียวกันผู้ปฏิบัติงานอีกคนหนึ่งทาแบบเดียวกัน แต่เข้าหาโคทางบั้นท้ายเพื่อทาการมัดขาหลังด้วยวิธีการเดียวกันกับการมัดขาหน้า
  • แลกปลายเชือกที่เหลือหลังจากการมัดขากันระหว่างขาหน้าและขาหลังดึงหางเชือกที่แลกแล้วลอดขาหน้าระหว่างขาโคที่อยู่ใกล้ดึงอย่างแรงจนขาทั้ง 4 ขามารวมกัน
  • เอาหางเชือกเส้นใดเส้นหนึ่งพันอ้อมขาทั้งสี่ขาอีกรอบหนึ่งแล้วผูกปลายเชือกทั้งสองเส้นเข้าด้วยกันแบบเงื่อนกระตุก เป็นอันเสร็จการมัดขาโค

ภาพที่ 17 มัดขาทั้งสี่ขาให้ติดกันอย่างหนาแน่น เพื่อไม่ให้โคดิ้นหรือเคลื่อนไหว
ที่มา : http://image.ohozaa.com/il/img_2586c.jpg ,http://www.dld.go.th/lslo_loe/image/cow%20number/num_8.gif

ข้อควรระวังในการบังคับโค
1. ห้ามเอามือพันเชือก เพื่อดึงโคที่คล้องแล้วอย่างเด็ดขาดเพราะโคอาจกระตุกเชือกอย่างแรงและเร็ว ทาให้เกิดบาดแผลที่มือได้

2. เมื่อคล้องโคได้แล้วจับเชือกให้แน่น ถ้าโคดึงอาจฝืนและวิ่งตามบ้าง แต่ถ้าคิดว่าสู้กาลังโคไม่ไหว ก็ควรรีบปล่อยเชือกทันที เพราะโคจะดึงเชือกรูดมือเป็นแผลได้ ทางที่ดีเมื่อคล้องโคได้แล้วควรรีบนาเชือกไปพันต้นไม้หรือเสาคอกให้เร็วที่สุด

3. การเข้าหาโคเพื่อจุดประสงค์อะไรก็ตามไม่ควรเข้าใกล้รัศมีขาหลังของโคโดยเฉพาะอย่างยิ่งโคพื้นเมืองและโคตระกูลอินเดีย (Bos indicus) สามารถใช้ขาหลังเตะได้รอบทิศ

4. กรณีไม่ใช่โคฝูง หากเราจะเข้าหาโคควรจะทาให้สัตว์รู้ตัวเสียก่อน อาจด้วยการส่งเสียงหรือเรียกชื่อก็ได้ ปกติเราจะเข้าด้านข้างค่อนมาทางหัวจะไม่เข้าตรงหน้าทีเดียวเพราะโคบางตัวอาจดุและวิ่งเข้ามาชน หรือขวิดก่อให้เกิดอันตรายได้ การเข้าหาสัตว์ควรทาด้วยความสุขุมและอย่าแสดงท่าทางให้สัตว์คิดว่าเรากลัวมัน ปกติสัตว์จะกลัวคนอยู่แล้ว

5. โดยปกตินิสัยโคจะไม่ทาอันตรายต่อคน นอกจากแม่ลูกอ่อนบางตัว หรือโคตัวผู้ที่กาลังติดตัวเมียที่เป็นสัด หรือโคจนตรอก โคเหล่านี้จะไล่ขวิดคน ทางที่ดีควรวิ่งออกห่างให้เร็วที่สุด

เอกสารอ้างอิง
โสภา สอนดี, ร.ท. 2523. การบังคับสัตว์. ภาควิชาสรีรวิทยา คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
กรุงเทพมหานคร
สุวลักษณ์ ศรีสุภา, 2547. พื้นฐานการบังคับสัตว์. ภาควิชาศัลยศาสตร์และวิทยาการสืบพันธุ์ คณะสัตว
แพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น

ที่มา https://ag2.kku.ac.th/eLearning/127462/Doc/chapter3.pdf

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *