มาตรฐานสินค้าเกษตร

หลักการควบคุมสัตว
June 14, 2017
พื้นฐานการบังคับสัตว์ (การบังคับโค)
June 15, 2017

มาตรฐานสินค้าเกษตร

ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ประกาศมาตรฐานสินค้าเกษตรที่ มกษ. 6400-2548 เรื่อง การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีส าหรับฟาร์มโคเนื้อ เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2548 ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาฉบับประกาศทั่วไป เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 เพื่อเป็นการปรับปรุงให้มาตรฐานมีเนื้อหาสอดคล้องกับสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงไป คณะกรรมการมาตรฐานสินค้าเกษตร จึงเห็นสมควรให้ปรับปรุงแก้ไขมาตรฐานฉบับเดิม เพื่อให้เนื้อโคที่ผลิตได้เป็นที่ยอมรับทั้งด้านคุณภาพและความปลอดภัย

มาตรฐานสินค้าเกษตรนี้กำหนดขึ้นโดยใช้เอกสารต่อไปนี้เป็นแนวทาง

มกษ. 6400-2548. มาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีส าหรับฟาร์มโคเนื้อ.
สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติกระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

มกษ. 6901-2552. มาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีส าหรับฟาร์มไก่เนื้อ.
สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติกระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

กรมปศุสัตว์.2551. ระเบียบกรมปศุสัตว์ว่าด้วยการขอรับและออกใบรับรองมาตรฐานฟาร์มเลี้ยงสัตว์กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

มาตรฐานสินค้าเกษตร
การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับ
ฟาร์มโคเนื้อ

 

1. ขอบข่าย
มาตรฐานสินค้าเกษตรนี้ กำหนดเกณฑ์การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มโคเนื้อ ตั้งแต่องค์ประกอบฟาร์ม อาหารสำหรับโคเนื้อ น้ำการจัดการฟาร์ม สุขภาพสัตว์ สวัสดิภาพสัตว์ การจัดการด้านสิ่งแวดล้อม และการบันทึกข้อมูล เพื่อผลิตโคที่มีสุขภาพดี และได้เนื้อโคและผลิตผลอื่นๆ ที่มีคุณภาพเหมาะสมในการนำไปใช้ผลิตเป็นอาหารที่ปลอดภัยต่อการบริโภค

2. นิยาม
ความหมายของคำที่ใช้ในมาตรฐานสินค้าเกษตรนี้ มีดังต่อไปนี้

2.1 โคเนื้อ (beef cattle) หมายถึง สัตว์ในสกุล Bos indicus และ Bos taurus ซึ่งอยู่ในวงศ์ Bovidae ที่มนุษย์เลี้ยงไว้ เพื่อนำเนื้อและผลิตผลอื่นๆ มาใช้บริโภคเป็นอาหาร

2.2 ฟาร์มโคเนื้อ (beef cattle farm) หมายถึง สถานที่เลี้ยงโคเนื้อเพื่อการค้า ซึ่งอาจมีการเลี้ยงในลักษณะเฉพาะ เช่น ฟาร์มโคพันธุ์เนื้อ ฟาร์มปรับสภาพโค ฟาร์มโคขุน

2.3 ฟาร์มโคพันธุ์เนื้อ (cattle breeder farm) หมายถึง ฟาร์มที่เลี้ยงโคพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์เพื่อผลิตลูกโคเนื้อพันธุ์แท้1 โคเนื้อลูกผสม2/ สำหรับจำหน่าย

2.4 ฟาร์มปรับสภาพโค (backgrounding farm) หมายถึง ฟาร์มที่เลี้ยงโคที่ยังไม่พร้อมเป็นโคขุน เพื่อปรับสภาพก่อนจะน าไปเลี้ยงเป็นโคขุนต่อไป

2.5 ฟาร์มโคขุน (fattening and finishing farm) หมายถึง ฟาร์มที่มีการเลี้ยงโคให้เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยการให้อาหารที่มีคุณภาพดี ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เพื่อให้ได้เนื้อที่มีคุณภาพดี

—————–
1/โคเนื้อพันธุ์แท้ หมายถึง โคที่ได้รับการผสมยกระดับสายเลือดเดิมสู่สายเลือดใหม่ และมี % ของสายเลือดใหม่สูงกว่า 96 %
2/โคเนื้อลูกผสม หมายถึง โคเนื้อลูกผสมที่มีสายเลือดอย่างน้อยสองสายเลือด

2.6 อาหารสัตว์ (feed) หมายถึง อาหารที่ได้จากวัตถุดิบชนิดเดียวหรือหลายชนิด ในสภาพดิบ (raw) หรือที่ผ่านกระบวนการบางส่วน (semi-processed) หรือกระบวนการอย่างสมบูรณ์ (processed) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เลี้ยงสัตว์เพื่อการบริโภค

2.7 โรงเรือน (barn) หรือคอก (pen) หมายถึง สิ่งปลูกสร้างที่มีหลังคา มีโครงสร้างแข็งแรง มีที่ให้น้ำและให้อาหาร โดยภายในอาจแบ่งกั้นเป็นคอก เพื่อใช้งานตามวัตถุประสงค์

3. เกณฑ์กำหนด

3.1 เกณฑ์ก าหนดสำหรับการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มโคเนื้อ แบ่งได้เป็น 3 ระดับ ดังนี

3.1.1 ข้อก าหนดหลัก (major requirements) หมายถึง ข้อกำหนดที่ต้องปฏิบัติ หากบกพร่องจะส่งผลกระทบโดยตรงหรือรุนแรงต่อคุณภาพที่สำคัญและความปลอดภัยของเนื้อโค และมีผลกระทบต่อผู้บริโภคหรือเป็นข้อกำหนดที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

3.1.2 ข้อกำหนดรอง (minor requirements) หมายถึง ข้อกำหนดที่ควรปฏิบัติ หากบกพร่องจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อคุณภาพของเนื้อโค หรือส่งผลกระทบโดยอ้อมต่อคุณภาพที่สำคัญและความปลอดภัยในระดับที่เป็นอันตรายต่อสัตว์ และมีผลกระทบต่อผู้บริโภค

3.1.3 ข้อแนะน า (recommendations) หมายถึง ข้อกำหนดที่แนะน าให้ปฏิบัติ เพื่อสนับสนุนให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มโคเนื้อ

3.2 เกณฑ์ตัดสินผลการตรวจประเมิน

การตัดสินผลการตรวจประเมินว่าเป็นไปตามข้อกำหนดของมาตรฐานสินค้าเกษตรนี้ มีเกณฑ์ดังนี้

3.2.1 ผลการตรวจประเมินต้องผ่านตามเกณฑ์ข้อกำหนดหลักทุกข้อ และ

3.2.2 ผลการตรวจประเมินข้อกำหนดรองต้องผ่านเกณฑ์ทุกข้อ ทั้งนี้ หากไม่ผ่านในการตรวจประเมินครั้งแรก ต้องมีการแก้ไขหรือเสนอแผนการแก้ไข พร้อมทั้งด าเนินการแก้ไขให้แล้วเสร็จตามที่ระบุในแผนการแก้ไขภายในระยะเวลาที่กำหนด

3.3 เกณฑ์กำหนดและระดับของข้อกำหนดสำหรับการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มโคเนื้อให้เป็นไปตามตารางที่ 1

ที่มา http://www.acfs.go.th/standard/download/BEEF_CATTLE_FARM.pdf

 

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *